โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 68 – ความดันโลหิต (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 29 พฤษภาคม 2567
- Tweet
ตอนก่อนหน้านี้ ได้เน้น (Focus) ไปที่ทางเลือกส่วนบุคคล (Personal choice) และการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ประจำวันที่แต่ละบุคคล (Individual) สามารถทำเพื่อปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของตนเอง แม้ความรับผิดชอบ (Responsibility) ส่วนบุคคลจะเป็นส่วนสำคัญ (Paramount) ต่อการรักษาสุขภาพของบุคคล แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสมการ (Equation) เท่านั้น
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable) ก็คือ เส้นทาง (Path) ของบุคคลนั้นจะต้องเผชิญกับระบบการรักษาพยาบาล ที่หมายถึง แพทย์, พยาบาล, รังสีแพทย์ (Radiologist), นักเจาะเลือด (Phlebotomist), ผู้ขนส่ง (Transporter), ช่างเทคนิค (Technician), นักบำบัด (Therapist), นักสังคมสงเคราะห์ (Social worker) และบุคลากรอื่นๆ ภายในโรงพยาบาล
บุคลากรเหล่านี้ เตรียมความพร้อม (Preparation) ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในทุกๆ ด้านเมื่อจำเป็น นอกจาก (Outside) โรงพยาบาลแล้ว คลินิกและสมาชิกของทีมงานในคลินิก ก็ไม่เพียงแต่รักษาพยาบาล (Heal) เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกัน (Prevent) โรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย
การเป็นเจ้าของ (Master) สุขภาพของตนเองอย่างเต็มที่คือการบูรณาการ (Integrate) ระหว่างทางเลือกส่วนบุคคลในเชิงบวก กับความเชี่ยวชาญ (Expertise) ของแพทย์เพื่อเป้าหมายในการป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดขึ้น (Occur) การตัดสินใจเหตุการณ์ (Milestone) สำคัญระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์นั้น ค่อนข้างคลุมเครือ (Clouded) ด้วยข้อมูลผิดพลาด (Misinformation) ในสังคม ที่จะต้องเผชิญ (Encounter) โดยให้ข้อมูลที่จะทำให้เรามีพลัง (Empower) ในการตัดสินใจ เพื่อตนเองและบางทีรวมถึงคนที่เรารัก
การจัดการความดัน (Pressure) โลหิตเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญที่สุดที่บุคคลสามารถนำมาในเชิงรุก (Proactive) ใช้เพื่อลดการเสียชีวิตและการด้อยความสามารถ (Disability) ระยะยาว ความดันเลือดสูง (Elevated) ปรกติจะถูกเรียกว่า “โรคฆาตกรเงียบ” (Silent killer) แค่พิมพ์คำว่า “Silent killer” ลงในเครื่องมือค้นหา (Search engine) ใดๆ แล้วสังเกตผลการค้นหาที่กลับมา (Return) จะเข้าใจว่า ทำไมคำนี้จึงได้รับคำนิยามเป็นเช่นนี้
ประการแรก เราไม่รู้สึกความดันภายในหลอดเลือด (Intra-arterial) หรือการเปลี่ยนแปลงของมัน เมื่อมีการเพิ่มหรือลดความดันเลือดอย่างทันทีทันควัน (Sudden) ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผลกระทบต่ออวัยวะ (Organ) และไม่ได้เกิดจากการรู้สึก (Sensation) ภายในหลอดเลือดเอง
ในกรณีที่ความดันเลือดสูงเกินไป ผู้ป่วยอาจวิวัฒนา (Develop) อาการปวดศีรษะ, เวียนหัว (Dizzy), หายใจลำบสก (Short of breath), เจ็บหน้าอก (Chest pain), คลื่นไส้ (Vomit), หรือการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น (Vision) เรียกว่า ภาวะด่วน (Urgency) หรือฉุกเฉิน (Emergency) จากความดันเลือดสูง (Hypertension)
ในขณะที่ความดันเลือดต่ำ (Hypotension) สามารถทำให้รู้สึกหน้ามืด (Light-headedness), หรือเวียนศีรษะ, และ หมดสติ (Fainted) เราไม่รู้สึกความดันและการไหลของเลือดภายในหลอดเลือดเอง
แหล่งข้อมูล –